วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ทรัพยากรสัตว์ป่า

สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ และเป็นองค์ประกอบที่เป็นสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้บริโภคในระบบนิเวศ แต่การที่สัตว์ชนิดใดๆ สูญพันธ์ไปนั้น จะไม่ส่งผลกระทบมาสู่ระบบนิเวศให้เราเห็นอย่างชัดเจนในเวลาอันสั้น และเป็นการยากที่จะพิสูจน์ถึงผลกระทบจากการทำลายระบบนิเวศ
อย่างชัดเจน

ประเภทของสัตว์ป่า

เพื่อเป็นการปกป้องรักษาสัตว์ป่าให้มีชีวิตสืบต่อไปถึงอนุชนรุ่นหลังจึงมีการออกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ภูมิพลอดุลเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2535 เป็นปีที่ 47 ในรัชกาลปัจจุบัน แบ่งสัตว์ป่าออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สัตว์ป่าสงวน เป็นสัตว์ป่าที่หายากและปัจจุบันมีจำนวนน้อยมากบางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้วมีอยู่ 15 ชนิด คือ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร แรด กระซู่ กูปรีหรือโคไพร ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมันหรือ เนื้อสมัน เลียงผา นกแต้วแล้วท้องดำ นกกระเรียน แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อและพะยูนหรือหมูน้ำ
2. สัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ทั้งที่ปกติไม่นิยมใช้เป็นอาหารและใช้เป็นอาหารทั้งที่ไม่ใช่ล่าเพื่อการกีฬาและล่าเพื่อการกีฬา ตามที่กฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดไว้ มากกว่า 200 ชนิด เช่น ค่าง ชะนี อีเห็น ไก่ฟ้า เหยี่ยว ช้างป่า แร้ง กระทิง กวาง หมีควาย อีเก้ง นกเป็ดน้ำ เป็นต้น
บทลงโทษ ทั้งสัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าคุ้มครองและซากของสัตว์ป่าสงวนหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง ห้ามมิให้ผู้ใดทำการล่ามีไว้ในครอบครอง ค้าขายและนำเข้าหรือส่งออก หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

คุณค่าของสัตว์ป่า

สัตว์ป่าอำนวยประโยชน์นานาประการให้แก่มนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ มากมาย อย่างไรก็ตามประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นไปในทางอ้อมมากกว่าทางตรงจึงทำให้มองไม่ค่อยเห็นคุณค่าของสัตว์ป่าเท่าที่ควร เมื่อเทียบกับทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เช่น ป่าไม้ น้ำ และแร่ธาตุ เป็นต้น ตัวอย่างคุณค่าของสัตว์ป่า เป็นต้นว่า
1. ด้านเศรษฐกิจ ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจที่มนุษย์ได้จากสัตว์ป่าก็ได้แก่การค้าสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่าโดยเฉพาะหนังสือป่าในปีหนึ่ง ๆ ทำรายได้ให้กับประเทศและมีเงินหมุนเวียนภายในประเทศจำนวนไม่น้อย คุณค่าทางด้านเศรษฐกิจจะรวมถึงรายได้ต่าง ๆ จากการท่องเที่ยวในการชมสัตว์ด้วย
2. การเป็นอาหาร มนุษย์ได้ใช้เนื้อของสัตว์ป่าเป็นอาหารเป็นเวลาช้านานแล้ว ซึ่งสัตว์ป่าหลายชนิดก็ได้พัฒนาจนกระทั่งกลายเป็นเลี้ยงไป สัตว์ป่าหลายชนิดตามธรรมชาติคนก็ยังนิยมใช้เนื้อเป็นอาหารอยู่ เช่น หมูป่า เก้ง กวาง กระจง กระทิง นกเขาเปล้า นกเป็ดน้ำ ตะกวด แย้ เป็นต้น อวัยวะของสัตว์ป่าบางอย่าง เช่น นอแรด กระโหลก เลียงผา เขากวางอ่อน เลือดและกระเพาะค่าง ดีของหมี ดีงูเห่า ก็ยังมีผู้นิยมดัดแปลงเป็นอาหาร หรือใช้เป็นเครื่องยาสมุนไพรอีกด้วย
3. เครื่องใช้เครื่องประดับ นอกจากเนื้อของสัตว์ป่าและส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ป่าจะใช้เป็นอาหารและยาแล้ว อวัยวะบางอย่างของสัตว์ป่าก็ยังใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้อีกมากมาย เช่น หนังใช้ทำกระเป๋า รองเท้า เครื่องนุ่งห่ม งาช้าง ใช้เป็นเครื่องประดับ กระดูก เขาสัตว์ใช้ทำด้ามมีดด้ามเครื่องมือ หรือแกะสลักต่าง ๆ เป็นต้น
4. การนันทนาการและด้านจิตใจ นับเป็นคุณค่าอันยิ่งใหญ่ของสัตว์ป่า แต่ไม่สามารถประเมินเป็นตัวเงินได้โดยง่าย การท่องเที่ยวชมสัตว์ป่าในสวนสัตว์ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและแหล่งสัตว์ป่าอื่น ๆ นับเป็นเรื่องนันทนาการทั้งสิ้นเช่นเดียวกับการสงสารสัตว์ป่าที่ถูกทรมาน กักขัง หรืออื่นใดก็ตามที สัตว์อยู่อย่างไม่ผาสุกก็เป็นเรื่องจิตใจ รวมตลอดทั้งการท่องเที่ยวป่าเห็นสัตว์ป่าหรือไม่เห็นสัตว์ป่า ซึ่งควรประดับความงามตามธรรมชาติเป็นทั้งนันทนาการและด้านจิตใจทั้งสิ้น
5. ด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา และการแพทย์ สัตว์ป่านับมีคุณค่าใหญ่หลวงที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ นักการศึกษาและแพทย์ ประสบผลสำเร็จในด้านการค้นคว้าทดลองต่าง ๆ โดยขั้นแรกเขาทดลองกับสัตว์ป่าเสียก่อน เช่น ทดลองกับหนู กระแต ลิง จากนั้นจึงนำไปใช้กับคนการค้นคว้า ทดลองเหล่านี้หากไม่มีสัตว์ป่าเป็นเครื่องทดลองก่อนแล้ว ก็อาจจะมีผลสะท้อนถึงคนอย่างมาก

6. เป็นตัวควบคุมสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ สัตว์ป่านับได้ว่าเป็นตัวควบคุมสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ด้วยกันเอง ทำให้ผลกระทบต่อคนบรรเทาเบาบางลงไปไม่มากก็น้อย เช่น ค้างคาวกินแมลง นกฮูกและงูสิงกินหนูต่าง ๆ นกกินตัวหนอนที่ทำลายพืชเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งหากไม่มีสัตว์ป่าต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วคนอาจจะต้องเสียเงินทองจำนวนมากกว่าเป็นอยู่ในปัจจุบันที่จะต้องกำจัดศัตรูทั้งทางตรงและทางอ้อมเหล่านี้
7. คุณค่าของสัตว์ป่าต่อทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ คนส่วนใหญ่มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ อย่างชัดเจน โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้ เป็นต้นว่า ป่าไม้ทำให้สัตว์ป่ามีที่อยู่อาศัย เป็นอาหาร และเป็นที่หลบภัย ป่าไม้ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ป้องกันการกัดเซาะของน้ำ ลม ป่าไม้ช่วยทำให้มีน้ำไหลตลอดปี น้ำใสสะอาดปราศจากตะกอน ป่าไม้ช่วยทำให้ฝนตก บรรเทากระแสลมพายุ ป่าไม้ทำให้อากาศไม่ร้อนไม่หนาว ป่าไม้เป็นแหล่งสะสมแร่ธาตุและป่าไม้ทำให้มนุษย์ได้ใช้สอย ขาดป่าไม้ทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ก็อยู่ไม่ได้ ทำนองเดียวกันกับทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่คนจะมองเห็นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ยกเว้นสัตว์ป่ามักจะมองเห็นเฉพาะต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เท่านั้น แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว สัตว์ป่าก็มีผลต่อทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ไม่น้อยเช่นเดียวกัน อย่างเช่นทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า ก็มีส่วนช่วยหลายอย่าง เช่น
7.1 สัตว์ป่าช่วยทำลายศัตรูป่าไม้ ต้นไม้ในป่าจะมีศัตรูตามธรรมชาติเสมอ ๆ เช่น โรคและแมลง เป็นต้น แต่ศัตรูเหล่านี้จะไม่ระบาด โดยเฉพาะแมลงหากมีตัวทำลายสัตว์ป่าหลายชนิดเป็นตัวกำจัดแมลงนอกจากที่กล่าวไปแล้วก็มี เช่น นกหัวขวาน นกไต่ไม้ จะกินแมลงและตัวหนอน ตามลำต้น นกกินแมลง นกจับแมลง จะกินแมลงที่มาทำลายใบ ดอก และผล ตุ่น หนูผี จะกินหนอนที่มากินรากและลำต้นใต้ดิน หากปราศจากสัตว์เหล่านี้แล้วต้นไม้จะได้รับความเสียหายและอาจจะตายในที่สุด
7.2 สัตว์ป่าช่วยผสมเกสรดอกไม้ ต้นไม้ผสมเกสรได้นั้นอาศัยปัจจัยหลายอย่างช่วย เช่น ลม และแมลงสำหรับสัตว์ป่าบางชนิดก็เป็นตัวที่ช่วยผสมเกสรด้วย เช่น นกกินปลี นกปลีกล้วย และค้างคาวกินน้ำหวานดอกไม้ เป็นต้น สัตว์ป่าเหล่านี้จะช่วยผสมเกสรดอกไม้ในขณะที่กินน้ำหวานดอกไม้จากดอกหนึ่งไปยังอีกดอกหนึ่งหรือจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง ทำนองเดียวกับลมและแมลงดังกล่าวแล้ว
7.3 สัตว์ป่าช่วยในการกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้ สัตว์ป่าบางชนิด เช่น นกขุนทอง นกเงือก ค้างคาวบางชนิด ลิง ค่าง ชะนี กวาง เก้ง กระทิง วัวแดง เป็นต้น จะกินผลไม้เป็นอาหาร แล้วคายหรือถ่ายเมล็ดออกมาตามที่ต่าง ๆ เมล็ดไม้บางชนิดไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ ในการผ่านกระเพาะของสัตว์เหล่านี้ก็เท่ากับสัตว์ป่าช่วยในการกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้ไปในที่ต่าง ๆ ที่สัตว์ท่องเที่ยวไปแล้วคายหรือถ่ายเมล็ดไม้ออกมา
7.4 สัตว์ป่าช่วยทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น มูลของสัตว์เกือบทุกชนิดใช้เป็นปุ๋ยได้อย่างดี เท่ากับเพิ่มความ อุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ในขณะเดียวกันเมื่อสัตว์ป่าตายลง ซากของสัตว์ป่าก็จะกลายเป็นปุ๋ยได้เช่นเดียวกัน ทุกวันนี้เกิดปัญหาการดัดแปลงมูลของสัตว์ป่าบางชนิด เช่น มูลของค้างคาว ซึ่งมีอยู่มากมายตามถ้ำต่าง ๆ ให้ใช้อย่างถูกต้อง ก็จะทำให้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ ทุกวันนี้แม้ว่าจะใช้มูลค้างคาวเป็นปุ๋ยอยู่บ้าง ก็อยู่เฉพาะในวงจำกัด ในปัจจุบันวงการป่าไม้เองก็ต้องใช้ปุ๋ยในสวนป่าเหมือนกันทั้งนี้เนื่องจากการทำงานสัตว์ป่าออกไปเกือบหมดป่านั่นเอง


ปัญหาทรัพยากรสัตว์ป่า

ในปัจจุบันสัตว์ป่ามีจำนวนลดน้อยลงมาก ชนิดที่สมัยก่อนมีอยู่ชุกชุมก็ไม่ค่อยได้พบเห็นอีกบางชนิดก็ถึงกับสูญพันธุ์ไปเลย ปัญหานี้สาเหตุมาจาก
1. ถูกทำลายโดยการล่าโดยตรงไม่ว่าจะล่าเพื่ออาหารหรือเพื่อการกีฬาหรือเพื่ออาชีพ
2. การสูญพันธุ์หรือลดน้อยลงไปตามธรรมชาติของสัตว์ป่าเอง ถ้าหากไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนของสภาพแวดล้อมได้ หรือจากสาเหตุภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม ไฟป่า
3. การนำสัตว์ป่าต่างถิ่น (Exotic aminal) เข้าไปในระบบนิเวศสัตว์ป่าประจำถิ่น ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ ความสมดุลของสัตว์ป่าประจำถิ่นจนอาจเกิดการสูญพันธุ์
4. การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ซึ่งก็ได้แก่การที่ป่าไม้ถูกทำลายด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะโดยถาก ถางและเผาเพื่อทำการเกษตรกิจกรรมการพัฒนา เช่น การตัดถนนผ่านเขตป่า การสร้างเขื่อน ฯลฯ ทำให้สัตว์ป่าบางส่วนต้องอพยพไปอยู่ที่อื่นหรือไม่ก็เสียชีวิตขณะที่ถิ่นที่อยู่อาศัยถูกทำลาย
5. การสูญเสียเนื่องจากสารพิษตกค้าง เมื่อเกษตรกรใช้สารเคมีในการเพาะปลูก เช่น ยาปราบศัตรูพืชจะทำให้เกิดการสะสมพิษในร่างกายทำให้บางชนิดถึงกับสูญพันธุ์ได้

การอนุรักษ์สัตว์ป่า

สัตว์ป่ามีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งรวมถึงคนเราด้วยทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จึงต้องมีวิธีการป้องกันและแก้ไขไม่ให้สัตว์ป่าลดจำนวนหรือสูญพันธุ์ด้วยการอนุรักษ์สัตว์ป่า ดังนี้
1. กำหนดกฎหมายและวิธีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ป่าเป็นแหล่งอาหารที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า อาทิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตเพาะพันธุ์สัตว์ป่า ฯลฯ ให้มีมากเพียงพอ
2. การรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างจริงจัง
3. การไม่ล่าสัตว์ป่า ไม่ควรมีการล่าสัตว์ป่าทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าคุ้มครองเพราะปัจจุบันสัตว์ป่าทุกชนิดได้ลดจำนวนลงอย่างมากทำให้ขาดความสมดุลทางธรรมชาติ
4. การป้องกันไฟป่า ไฟป่านอกจากจะทำให้ป่าไม้ถูกทำลายแล้วยังเป็นการทำลายแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าด้วย
5. การปลูกฝังการให้ความรัก และเมตตาต่อสัตว์อย่างถูกวิธีสัตว์ป่าทุกชนิดมีความรักชีวิตเหมือนกับมนุษย์ การฆ่าสัตว์ป่า การนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงไว้ในบ้านเป็นการทรมานสัตว์ป่า ซึ่งมักไม่มีชีวิตรอด
6. การเพาะพันธุ์เพิ่มสัตว์ป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์หรือมีจำนวนน้อยลง ควรมีการเพาะพันธุ์ขยายพันธุ์ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการทดแทนและเร่งให้มีสัตว์ป่าเพิ่มมากขึ้น


ประโยชน์ของสัตว์ป่า


สัตว์ป่าให้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมดังนี้
1) ประโยชน์ทางตรง

1.1) ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ได้แก่การใช้เนื้อเป็นอาหารและเพื่อการค้า อันนี้หมายรวมถึงผลิตภัณฑ์อย่างอื่นจากสัตว์เช่น เขา หนัง ขน ฯลฯ ด้วย

1.2) ประโยชน์ทางด้านการพักผ่อนและการกีฬา บางประเทศมีการเปิดให้ล่าสัตว์ป่าบางชนิดในบางฤดูกาลเพื่อการกีฬา ประโยชน์ทางด้านนี้หมายรวมถึงการถ่ายรูปสัตว์ป่า การส่องดูสัตว์ป่าตามธรรมชาติเช่นการดูนก, การดำน้ำชมปะการัง เป็นต้น
1.3) ประโยชน์และคุณค่าด้านพันธุกรรม การนำสัตว์ป่ามาผสมพันธ์กับสัตว์เลี้ยงเพื่อปรับปรุงพันธุ์และเพิ่มฐานทางพันธุกรรมให้กว้างขึ้น

1.4) ประโยชน์ด้านการค้นคว้าและวิจัย เช่นการทดลองวัคซีนและยาในสัตว์บางชนิดเช่นลิง หนู

1.5) ประโยชน์ทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่การให้ของขวัญแก่กันเพื่อสร้างสัมพันธไมตรีด้วย สัตว์ป่า เช่นประเทศจีนนิยมใช้หมีแพนด้าเป็นของขวัญให้กับประเทศอื่นที่มีความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองและการค้า

ประโยชน์ทางอ้อม

ได้แก่ประโยชน์ในแง่ที่สัตว์ป่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ มีบทบาทในด้านการถ่ายทอดพลังงานและธาตุอาหาร สัตว์ป่ามีความสำคัญต่อมนุษย์มากมาย ตั้งแต่สมัยที่มนุษย์ยังอาศัยอยู่กับธรรมชาติในป่า ยิ่งในสมัยปัจจุบันเมื่อมนุษย์เจริญขึ้น สัตว์ป่าก็ยิ่งมีบทบาทและเพิ่มความสำคัญแก่มนุษย์มากขึ้นตามลำดับ พอจะสรุปได้ดังนี้

(1) ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันยังนิยมใช้เนื้อสัตว์เป็นอาหาร การใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของสัตว์ป่า เช่น เขา ขน หนัง เป็นต้น หรือแม้แต่ตัวของสัตว์ป่าเองก็ตาม มีสัตว์ป่าหลายชนิดที่มีความสวยงาม สีสันแปลกตา และหายาก จึงเป็นที่สนใจของคนทั่วไป สัตว์เหล่านี้ถูกซื้อไปเลี้ยงไว้ในสวนสัตว์บ้าง นำไปเลี้ยงเป็นการส่วนตัวบ้าง อาชีพการค้าสัตว์ป่าจึงเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้แก่ผู้ค้าอย่างงดงาม ถ้าหากขาดการควบคุมดูแลให้รัดกุมแล้ว ย่อมทำให้เกิดผลเสียขึ้นได้ คือ ทำให้ปริมาณสัตว์ป่าลดลงจนอาจสูญพันธ์ หรือทำให้ความสมดุลทางธรรมชาติต้องเสียไป อันเป็นผลเสียหายแก่เศรษฐกิจในทางอ้อม
(2) ประโยชน์ในด้านวิชาการ การค้นคว้าทดลองในด้านวิทยาศาสตร์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม ในปัจจุบันมีหลายสาขาวิชาจำเป็นต้องอาศัยสัตว์ป่าเป็นเครื่องมือสำคัญ จะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆในยุโรปและอเมริกา ได้สั่งซื้อสัตว์ป่าจากประเทศไทยไปใช้ในการค้นคว้าทดลองเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นการนำเอาสัตว์ป่าไปเลี้ยงในสวนสัตว์ เพื่อให้ประชาชน นักศึกษาและนักวิทยาศาสตร์ได้ชมและศึกษาถึงชีวิตของสัตว์ป่า นับว่าเป็นประโยชน์ไม่น้อย เพราะเท่ากับเป็นรักษาชนิดพันธ์สัตว์หายากบางชนิดไม่ให้ต้องถูกล่าจนสูญพันธ์ไป
(3) ประโยชน์ในด้านรักษาความงามและคุณค่าทางจิตใจ สัตว์ป่าทำให้ธรรมชาติมีชีวิตชีวา มีสีสัน เกิดความสุขทางจิตใจ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางประสาทได้เป็นอย่างดี
(4) ประโยชน์ด้านการพักผ่อนหย่อนใจ มนุษย์เราเมื่ออาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ๆ มีธุรกิจการงานต่างๆ มากมาย ย่อมเกิดความเบื่อหน่าย จึงมักหาโอกาสไปพักผ่อนหย่อนใจตามท้องที่ต่างๆ ที่มีธรรมชาติสวยงาม ซึ่งจะช่วยคลายความเหน็ดเหนื่อยจากงานต่างๆ ไปได้ สาเหตุสำคัญหลายประการพอสรุปได้ดังนี้

(1) การทำลายสภาพป่าไม้ มีการนำเอาทรัพยากรป่าไม้มาใช้ประโยชน์อย่างมากในรูปของไม้และผลิตผลของป่าไม้ ทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าอย่างมาก เนื่องจากสัตว์ป่าต้องการพื้นที่ป่าไม้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาหาร น้ำ ที่หลบภัย และพื้นที่เพื่อกิจกรรมอื่นๆ สาเหตุดังกล่าวจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณของสัตว์ป่าในธรรมชาติ
(2)การใช้ประโยชน์สัตว์ป่าและการลักลอบล่าสัตว์ เนื่องจากสัตว์ป่าสามารถอำนวยประโยชน์และตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในด้านต่างๆได้จึงทำให้มีการลักลอบล่าสัตว์และส่งผลให้ปริมาณสัตว์ป่าลดจำนวนลง
(3)การใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชเกินความจำเป็นทำให้ฝนชะล้างส่วนที่เกินให้แพร่กระจายลงไปสะสมอยู่ในดินและแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียงต่อเนื่องไปจนถึงแม่น้ำ ลำคลอง ปากแม่น้ำทะเลและมหาสมุทรจนส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าบริเวณใกล้เคียง
(4)การทำลายปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ป่าเช่นการประกอบการอุตสาหกรรม การทำเหมืองแร่ การสร้างถนนเขื่อนอ่างเก็บน้ำฯลฯล้วนแต่สร้างผลกระทบด้านลบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสัตว์ป่าทั้งสิ้น
(5) การนำพืชและสัตว์ต่างถิ่นเข้ามาในประเทศเกิดปัญหาการแย่งพื้นที่สัตว์ประจำท้องถิ่นและการเสียสมดุลของระบบนิเวศ
(6) ความเชื่อถือและค่านิยมทางสังคม เช่น การใช้นอแรดและเขากวางอ่อนเป็นยารักษาโรคบางชนิด หรือการนิยมสะสมอวัยวะส่วนต่างๆ ของสัตว์ เช่น เขา หนัง หัวกะโหลก งา เขี้ยว เป็นต้น ( มีชัย วรสายัณห์ , 2535 )

ไม่มีความคิดเห็น: